ข้อความ

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าเยี่ยมชม website Hunsay หัวใจนี้ไม่มีพอ

บทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศ




1 จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำต่อไปนี้

Hardware  คือ  ส่วนประกอบ โครงสร้างรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่สนับสนุนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มองเห็นและสัมผัสได้  หน้าที่ของฮาร์ดแวร์ก็คือ ทำงานตามคำสั่งควบคุมการทำงานต่างๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้             

             1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit)  เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) เป็นต้น
            2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม และหน่วยคำนวณเช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ             

            3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง มี 2 ประเภท

                          1 หน่วยความจำภายในคือ หน่วยความจำแบบแรม (Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น หากไฟดับไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ และ หน่วยความจำแบบรอม (Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
                        2 หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM แผ่นดิสก์หรือสเกต  จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์            

             4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)
                     
                           

     Software คือ ชุดคำสั่ง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์)  สามารถสื่อสารกันได้  ทั้งนี้อาจแบ่งซอฟต์แวร์ตามหน้าที่ของการทำงานได้ดังนี้
            1. โปรแกรมจัดระบบ (System Software) คือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
          2. โปรแกรมประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ เช่น ระบบฐานข้อมูล  Microsoft  Access  Oracle,Microsoft  Word, Microsoft  Power  Point, Microsoft  Excel เป็นต้น
  3. โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Software) 

          3. เป็นโปรแกรมที่ใช้เครื่องมืในการช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความคล่องตัวขึ้น  และสามารถแก้ปัญหาอันเกิดจากการใช้งานได้ เช่น โปรแกรมกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์  Mcafee, Scan, Norton Anitivirus   เป็นต้น         

          4. โปรแกรมแปลงภาษา (Language Translater) ใช้ในการสร้างโปรแกรมเพื่อนำไปใช้งานด้านต่างๆ โดยการเขียนชุดคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และใช้โปรแกรมแปลงภาษาดังกล่าวทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้น (High Level Language) ให้ไปเป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ (Low Level Language)


                        

People Ware คือผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์จากการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องนั่นเอง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับต่างๆ ดังนี้            

 1. ผู้บริหาร (Manager) ทำหน้าที่กำกับดูแลวางแนวนโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้องค์กรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ              

2. นักวิเคราะห์และนักออกแบบระบบ (System Analysis & Deign) ทำหน้าที่วางแผนและออกแบบระบบงาน เพื่อนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน             

3. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ทำหน้าที่เขียน/สร้างชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน            

 4. ผู้ปฏิบัติการ (Operator) ทำหน้าที่ควบคุมเครื่อง เตรียมข้อมูล และป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์


                                                                                                                                                           
 



 Data คือเป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี  5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) 


                                                                                                                              




Information คือ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารสนเทศที่เป็นโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่างๆโทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การลงทะเบียน ที่กล่าวมาข้องต้น เราแทบจะเคยใช้แล้วก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้สารสนเทศพวกนี้








                                                                                                                                                            




 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น